วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาริร่วมกักด่านทำความดี ในที่วัน วันพ่อแห่งชาติ


มาร่วมแยกทำกระแสความดี ณวัน วันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ




บทอาศิรวาท เฉลิมพระชนมพรรษา มหาราชา "ภูมิพล ฯ"


"เฉลิมพระชนม์ เฉลิมชัย ชโยฤกษ์ 

บายศรีเบิก ฟ้าสีทอง ผ่องเวหน

พระบุญญา พระบารมี พระฯภูมิพล 

เกริกสกล ภูมิแผ่นดิน ภิญโญไทย

ธ ทรงมี ทศพิธ ราชธรรม 

โครงการล้ำ เชิดชูชาติ ศาสน์ไสว

อิสริยยศ คิงออฟคิง เพริศพริ้งไกล 

งามวิไล ราชกิจ พิศอัศจรรย์

อัญเชิญชัย พระไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

เทพนิมิต ราชประสงค์ ทรงเสกสรรค์

จตุรพิธ พรประเสริฐ เลิศอนันต์ 

นิจนิรันดร์ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


วารี ไตรเพิ่ม ผู้ประพันธ์กลอนวันพ่อ

1ธ.ค.53


----------------------------------------------------------------------------------------

กลอนวันพ่อ




"สรวมชีพ น้อมเกศา ข้าพระบาท 

อาศิรวาท จอมบดินทร์ ปิ่นเกศี

เฉลิมพระชนม์ พระฯภูมิพล นฤบดี 

พระบารมี ยิ่งบุญญา เฟื่องฟ้าไกล

กอปรอาเกียรณ์ ราชกิจ ผลิตโครงการ 

พรหมสร้างสาน ปราชญ์คู่หล้า ฟ้าสดใส

ทศพิธ ราชธรรม ธำรงไทย 

เลื่องลือไป ทั่วหล้า น่าอัศจรรย์

ขอเทพไท ไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

นฤมิต พรพราวพร่าง สร้างสุขสันต์

ธ ประสงค์ ลุประสงค์ มงคลพลัน 

ภักดีมั่น ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"



วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

1 ธ.ค. 53


----------------------------------------------------------------------------------------

กลอนวันพ่อ


"ลุที่ห้า ธันวา มหาฤกษ์ 

บายศรีเบิก แผ่นฟ้า เวหาหน

เฉลิมพระชนม์ พรรษา มหามงคล 

ร่วมกมล ถวายพระพร บวรชัย

ธ ทรงเป็น ยิ่งกว่า ราชาบดี 

ทรงเป็นศรี แห่งแผ่นดิน ภิญโญสมัย

ธ ทรงงาน โครงการ สร้างสานไทย 

น้ำพระทัย พระเมตตา ล้ำบารมี

ธ ทรงเป็น พลัง แห่งแผ่นดิน 

เลิศศาสตร์ศิลป์ พัฒนาไทย ไพศาลศรี

ดังตะวัน จันทรา หล้าปฐพี 

เพชรมณี เฟื่องสยาม คามตำนาน

อัญเชิญชัย ศรีไตรรัตน์ ประภัสสร์ผล 

ทวยเทพดล ราชวงศ์ เกษมศานต์

จตุรพิธ พรพร่าง นานัปการ 

โลกขับขาน ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

1 ธ.ค. 53





 *** ขอขอบคุณบทกลอนวันพ่อจาก คุณวารี ไตรเพิ่ม (บทกลอนที่นำมาเสนอได้รับอนุญาตจากผู้แต่งแล้ว) หากผู้ใดต้องการนำกลอนเหล่านี้ไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาติดต่อที่ feedback@sanook.com





----------------------------------------------------------------------------------------



5 ธันวา ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม

กลอนวันพ่อ



สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 



ยอกรน้อมบังคมก้มกราบบาท

มหาราชจอมบดินทร์ปิ่นสยาม

"5 ธันวา" ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม

ทุกเขตคาม แซ่ซ้องถวายชัย





เฉลิมพระชนมพรรษามหาสวัสดิ์

ขอเทพไท้ที่ป้องรัฐทุกสมัย

น้อมปกปักพระพ่อหลวงของปวงไทย 

เปี่ยมพระพลานามัยไปชั่วกาล





ด้วยพระมหาบารมีที่ล้นเกล้า

ข้าพระพุทธเจ้าฯ ขอรองลาดพระบาทผ่าน

ด้วยยึดดี...มิปล่อยใจใฝ่ทางมาร

สมัครสมานและรู้อยู่พอเพียง





ทีฆายุโก โหตุ มหาราช

ไทยทั้งชาติ เปล่งประสานสุรเสียง

“ทรงพระเจริญ” แม้หลากมากสำเนียง

ต่างล้วนเคียงเพ่งจิตกราบถวายพระพร





กษัตริย์ผู้ทรงพระราชกรณียกิจ

มีลิขิตเพียงตำนาน...ในกาลก่อน

ชาติที่กล่าวดังนั้น...คงสั่นคลอน

ด้วยพระเกียรติก้องกำจร...องค์ภูมิพล





พระมหากรุณาล้นฟ้ากว้าง

เกินร้อยกรองสรรค์สร้างคำงามล้น

"หนึ่งธุลี" ใต้ร่มฉัตรแห่งภูวดล

น้อมกมลร้อยกรองถวาย “ทรงพระเจริญ”





----------------------------------------------------------------------------------------







จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

กลอนวันพ่อ



สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 



จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

“ลูกรักพ่อ” แม้บอกฝากจากกาพย์กลอน

“รัก” แน่นอน จากลูกมั่นลูกสัญญา





อาจไม่ใช่คนที่ เป็น “ที่หนึ่ง”

ไม่น่าทึ่ง-เก่งฉกาจ-มาดหรูหรา

ไม่สวยเด่นดังเช่น “ดาว” พราวนภา

แต่เชื่อว่าเป็น “คนดี” ที่ภูมิใจ





ทุกถ้อย “พ่อ” เตือนย้ำยามยังเด็ก

เจ้าตัวเล็กอาจเหมือนรั้นไม่หวั่นไหว

แต่พ่อจ๋า...ที่ตรึงติดสนิทฤทัย

จักอื่นใด “คำพ่อสอน” คือพรพรหม





อุ่นอื่นหนอ จะอุ่นละมุนนัก

เท่าอุ่นจาก “ไอรัก” อันเหมาะสม

ชายอื่นหนอ จะ “รักลูก” ยามทุกข์ตรม

ทั้งชีวิต “หวาน” – “ขม” พ่อห่วงใย





ลูกของพ่อจะเดินทางอย่างเชื่อมั่น

สู่ “ปลายฝัน” อนาคตอันสดใส

แม้อุปสรรค์จะขวากขวางบนทางไกล

“ลูกสาวพ่อ” จะก้าวไปไม่แคลนคลอน





จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

พนมมือก้มน้อมราบกราบบิดร

ด้วยบทกลอน ว่า “รักมั่นกตัญญู”



 

กลอนวันพ่อ----------------------------------------------------------------------------------------





 

กลอนวันพ่อ

กราบพ่อ



สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 





พนมมือกราบแนบ…แทบเท้าพ่อ

ผู้สร้าง-ก่อกำเนิด เกิดสังขาร

จากว่างเปล่า มีชีวิต จิตวิญญาณ

มีเลือดเนื้อ ดุจปั้น รังสรรค์มา





นึกถึงภาพวันเก่า...คราวยังเล็ก

พ่ออุ้มเด็กตัวน้อยนั่งข้างบนบ่า

พลางปลอบ...เจ้าอย่าหวั่นเลยขวัญตา

สองมือใหญ่นี้หนา...จะประคอง





หากมือแม่เป็นผ้าอุ่นละมุนนัก

มือพ่อจักเป็นเกราะคลุมคุ้มภัยผอง

หากลูกล้ม...เหนื่อยล้า...น้ำตานอง

พ่อทั้งป้อง...ปลุกให้ลุกบุกบั่นไป





อาจไม่เคยเอ่ยปาก “พ่อรักลูก”

แต่พันผูกเกลียวรักมั่นไม่หวั่นไหว

แววตาพ่ออาจไม่หวานซ่านฤทัย

แต่แววตานี้ห่วงใย...ไม่เว้นวัน





แม้หลอมรวมสามภพจบทั่วหล้า

อีกนภามหาสมุทรสุดเขตขันธ์

หรือจักรวาลที่วัดว่าค่าเป็นอนันต์

จะเทียมทันเทียบพ่อได้...นั้นไม่มี





“พ่อ” คือ “พรหม” คือ “พระ” คุ้มอุ้มชีวิต

ลูกน้อมจิตกราบประนมก้มเกศี

เรียงอักษรเป็นกลอน...ร้อยแทนถ้อยวจี

ว่าลูกนี้ “รักพ่อ” ขอบูชา








+++ กลอนวันแม่ จากคุณ poohkan





*** ขอขอบคุณบทกลอนวันพ่อจาก คุณสัจจาภรณ์ ไวจรรยา (บทกลอนที่นำมาเสนอได้รับอนุญาตจากผู้แต่งแล้ว) หากผู้ใดต้องการนำกลอนวันพ่อเหล่านี้ไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาติดต่อที่ feedback@sanook.com



ทึ่มา กลอนวันพ่อ  http://campus.sanook.com/928988/ 

ติดตาม คนอวดผี 28 พฤศจิกายน 2555
            ,                     ดูคนอวดผี
            ,                     คนอวดผีย้อนหลัง
            ,                     คนอวดผีล่าสุด
            ,                     คนอวดผี













ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่
ที่มาของ ข่าว วิเคราะห์บอล


ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ


ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส


 


วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกือบลอยกระทงแล้วน้าสาว จะเสด็จลอยกระทงกันถิ่นใดโศภาเอ่ยยยยย !!!!


 
เคียงคู่ลอยกระทงแล้วน้า จะเที่ยวไปลอยกระทงกันแห่งหนใดบริสุทธ์เอ่ยยยยย !!!! 


ลอยกระทง
 เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15
ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ
ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันพุทธที่ 28 พฤศจิกายน 2555


ประเพณีลอยกระทง
 มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า
ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด
พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง
ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้

ทำไมถึงลอยกระทง การลอยกระทง
เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า
ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง
ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น
ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์,
เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า
ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา


ลอยกระทง 2555



นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
บูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล
บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ
รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่
ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์
ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย


พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า
ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า
การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ
เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี
ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา
หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้
จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว
จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า
ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า
การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา
ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี
ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ
เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี
รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน
เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง
ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี
เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น
มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด
ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป
และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา
มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป

ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในหนังสือตำรับท้าวศรี
จุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก
ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย
ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ
ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย
ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก
ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ
ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว
สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท
ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย
นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่
นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์
วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว
อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน









ตำนานและความเชื่อ จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง
 ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน
บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ
ดังนี้

เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง
 กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง
นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส
(ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย
เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า
ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ
ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล
แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า
บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว
ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม
ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี
นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ
เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ
มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า
พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ
 พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน
ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย
จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้
จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา
โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน
 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า
เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว
เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน
พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา
และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์
และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง
เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า

สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตาม
ประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า
เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด
ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ
แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(ตาม
ประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ)
 ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ
ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย



เรื่องที่สอง
ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้
แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร
 พระนารายณ์และพระพรหม
เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดย
กำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก
พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป
และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย
ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12
หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา
ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)

เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า
 เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์
แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ
พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย
พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช
 จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน
12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้
บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล
และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า
 และชาวพายัพของไทยมาก

เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า
 เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี
บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว
บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป
ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา (
 อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ
เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว
จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด
แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้
ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง
หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ
และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง
ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด
เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ
คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ
เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)

รื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน
 ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ
บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี
ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี
ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม
และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ
และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด
 จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก
ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง)
ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง
ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น
พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที
(ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ
โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท
ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน
ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง

ประเพณีลอยกระทง
นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที
ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน
สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน
ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ
ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ
แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ลอยกระทงออนไลน์ ลอยกระทงในเน็ต สำหรับชาวกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เพื่อลดขยะที่จะเกิดขึ้นซึ่งจะยิ่งทำให้การระบายน้ำช้าลง คลิกที่นี่หรือที่รูปด้านล่างเพื่อ ลอยกระทงออนไลน์ กับสนุกดอทคอม ได้เลย

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : ลอยกระทง 2555 วันลอยกระทง

ลอยกระทงออนไลน์ ได้ที่นี้ http://season.sanook.com/loykrathong







ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่
ที่มาของ ข่าว วิเคราะห์บอล


ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ


ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส



วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์บอล ต้องให้โอกาสเค้านะ "ราฟา" โดนเสียงฮาป่าแทนคำต้อนรับจากแฟนๆ ที่ต้องการให้ "อาร์ดีเอ็ม" อยู่ต่อ




ราฟาไม่แคร์! โดนแฟนเชลซีโห่ต้อนรับ 

ราฟาไม่แคร์! โดนแฟนเชลซีโห่ต้อนรับ


วิเคราะห์บอล วิเคราะห์บอล สัมผัสให้โอกาสเค้านะ "ราฟา" โดนเสียงโฮ่ฮาแทนคำต้อนรับจากแฟนๆ ที่ต้องการให้ "อาร์ดีเอ็ม" อยู่ต่อ



ฟุตบอล : "ราฟา" ไม่แคร์ แม้โดนเสียงโห่แทนคำต้อนรับจากแฟนๆ ที่ต้องการให้ "อาร์ดีเอ็ม" อยู่ต่อ ยันสนใจแต่เรื่องในสนาม พอใจคลีนชีท แม้เจาะตาข่าย "เรือใบ" ไม่ได้



ราฟาเอล เบนิเตซ ผู้จัดการทีมชั่วคราวของเชลซี ยักษ์ใหญ่แห่งเวที พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ไม่สนใจเสียงโห่ต้อนรับในเกมที่เปิดบ้านเจ๊าจืดกับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ 0-0 เมื่อคืน 25 พ.ย. ที่ผ่านมา


เนื่องจากแฟนๆ ไม่พอใจและต้องการให้ โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ กุนซือที่โดนสั่งเด้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่คุมทีมต่อไป พร้อมยืนยันว่า จะตั้งใจทำหน้าของตนเองอย่างเต็มที่




วิเคราะห์บอล  "เอล บอส" ไม่สนใจ แม้ไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีในถิ่น สแตมฟอร์ด บริดจ์ โดยระหว่างเกม แฟนๆ ชูป้ายไล่ และยังเรียกร้องให้ ดิ มัตเตโอ กลับมา มีการปรบมือเป็นเวลา 1 นาที ในนาทีที่ 16 ของเกม ตามหมายเลขเสื้อที่อดีตแข้งชาวอิตาเลี่ยนเคยสวมสมัยเป็นนักเตะด้วย




"ผมมุ่งมั่นมีสมาธิกับเกมเท่านั้น และไม่ได้ฟังเสียงคนดู เป้าหมายของผมอยู่ที่เกมในสนาม ผมไม่ได้ฟังเสียงอะไรเลย"



อย่างไรก็ตาม "ราฟา" ยังพอใจกับฟอร์มการเล่นและผลการแข่งขันที่ออกมา อย่างน้อยก็ยังไม่เสียประตู "นี่เป็นเกมยาก เราเจอกับทีมที่ดี ไม่มีโอกาสการยิงที่ชัดเจนสำหรับทั้งเขา (แมนฯ ซิตี้) และเรา ผลมันอาจไม่เป็นไปตามที่คาด แต่อย่างน้อยเราก็เก็บคลีนชีทได้ และเรายังแสดงให้เห็นถึงสปิริตในเชิงบวก คู่แข่งเองก็พยายามอย่างมากไม่ว่าจะมีหรือไม่มีบอล"


ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่



ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่
ที่มาของ ข่าว 
วิเคราะห์บอล






ติดตาม Instagram ดารา 



ลอยกระทงออนไลน์ พร้อมค้นหาคำศัพท์ใหม่ๆ ได้ที่อัจฉริยะ พจนานุกรม


ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ


ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส



วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนรู้การ แปลภาษาอังกฤษ วันลอยกระทง พร้อมแนะนำสถานที่ ลอยกระทงออนไลน์
















เรียนรู้การ แปลภาษาอังกฤษ วันลอยกระทง พร้อมแนะนำสถานที่ ลอยกระทงออนไลน์



            Loy Krathong Day is one of the most
popular festivals of Thailand celebrated annually on the Full-Moon Day
of the Twelfth Lunar Month.  It takes place at a time when the weather
is fine as the rainy season is over and there is a high water level all
over the country.                                                                                                                        The word “Loy” means “to float”, and “Krathong” means lotus-shaped vessel
made of banana leaves. Loy Krathong is, therefore the floating of an
illuminated leaf bowl.  But nowadays some krathongs are made of
coloured paper.  A krathong usually contains a candle, three joss
sticks, some flowers and coins.                                         
                                                            The history
of Loy Krathong Festival is slightly obscure.  First, it is to ask for apology from
the water goddess for having used and sometimes made rivers and canals
dirty.  Second, it is to offer flowers, candles and joss sticks as a tribute to the footprint of Lord Buddha on the sandy beach of the Nammatha River in India.  Third, it is to show gratitude to the Phra Mae Kong Ka or Mother of Water.  Fourth, it is to wash away the previous year’s misfortunes.



































Vocabulary


vessel (n.)    ภาชนะ,  เรือ

obscure (adj.)  คลุมเครือ

apology (n.)  การขออภัย

tribute (n.)   เครื่องบรรณาการ

gratitude (n.)  ความกตัญญู

misfortune (n.)   โชคร้าย

consort (n.)  ชายา, หม่อม

sin (n.)  บาป, ความชั่วร้าย

suffering (n.) ความทุกข์ทรมาน

firework (n.)  ดอกไม้ไฟ





ค้นหาคำศัพท์เพิ่มเติมที่นี่ --> พจนานุกรม















           The ceremony is believed
to have originated in the time of King Ramkhamhaeng of Sukhothai, the
first capital of Thailand, and to have been started by Nang Nophamas
or Tao Sri Chulalak, the Brahman consort of the King. 
She was the first person who introduced “Krathongcherm”, the banana
leaf krathong in the form of lotus blossom on the festival night.  
 The festival starts in the evening when there is a full moon in the
sky.  People carry their krathongs to the river and canals.  After
lighting candles and joss sticks and making a wish, they gently place
the krathongs on the water and let them drift away till they go out of
sight.  It is believed that krathongs carry away their sins and bad luck, and happiness will come to them.  Indeed, it is the time to be joyful and happy as the sufferings are floated away.                                                                                                       

          The festival includes a contest of Krathong-making, the
Nophamas Queen Contest, local games and performances, entertainment
programs and firework displays.  The Loy Krathong song contributes to the romantic atmosphere of this occasion. 
















Fireworks and large rafts on the Chao Phraya River, Loi Krathong Festival of Light, Bangkok, November 2004



Loi Krathong takes place on the evening of the full moon of the 12th month in the traditional Thai lunar calendar. In the western calendar this usually falls in November.

Loi literally means 'to float,' while krathong refers
to the lotus-shaped receptacle which can float on the water. Originally,
the krathong was made of banana leaves or the layers of the trunk of a
banana tree or a spider lily plant. A krathong contains food, betel nuts, flowers, joss sticks, candle and coins. Modern krathongs are more often made of bread or styrofoam.
A bread krathong will disintegrate in a few a days and be eaten by fish
and other animals. The traditional banana stalk krathongs are also
biodegradable, but styrofoam krathongs are frowned on, since they are
polluting and may take years to disappear. Regardless of the
composition, a krathong will be decorated with elaborately-folded banana
leaves, flowers, candles and incense sticks. A low value coin is
sometimes included as an offering to the river spirits. During the night
of the full moon, Thais will float their krathong on a river, canal or a
pond lake. The festival is believed to originate in an ancient practice
of paying respect to the spirit of the waters. Today it is simply a
time to have fun.

Governmental offices, corporations and other organizations usually
create big decorated rafts. There are also local and officially
organised raft competitions, regarding its beauty and craftsmanship. In
addition, there are also fireworks and beauty contests during the celebration of the festival.

The origins of Loi Krathong are stated to be in Sukhothai, but recently scholars have argued that it is in fact an invention from the Bangkok period.According to the writings of H.M. King Rama IV in 1863, the originally Brahmanical festival was adapted by Buddhists in Thailand as a ceremony to honour the original Buddha,
Siddhartha Guatama. Apart from venerating the Buddha with light (the
candle on the raft), the act of floating away the candle raft is
symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so
that one can start life afresh on a better foot. People will also cut
their fingernails and hair and add them to the raft as a symbol of
letting go of the bad parts of oneself. Many Thai believe that floating a
raft will bring good luck, and they do it to honor and thank the
Goddess of Water, Phra Mae Khongkha (Thai: พระแม่คงคา).

The beauty contests that accompany the festival are known as "Nopphamat Queen Contests". According to legend, Nang Nopphamat (Thai: นางนพมาศ; alternatively spelled as "Noppamas" or "Nopamas") was a consort of the Sukothai king
Loethai (14th century) and she had been the first to float a decorated
raft. However, this is a new story which was invented during the first
part of the 19th century. There is no evidence that a Nang Nopphamat
ever existed. Instead it is a matter of fact that a woman of this name
was instead the leading character of a novel released during the end of
the reign of King Rama III – around 1850. Her character was written as guidance for all women who wished to become civil servants.

Kelantan in Malaysia also celebrates the same celebration, especially in the Tumpat area. The ministry in charge of tourism in Malaysia recognises it as an attraction for tourists. Many people visit the celebration each year.


Yi Peng










Thousands of Khom Loi in Mae Cho,



Loi Krathong coincides with the  (northern Thai) festival known as "Yi Peng"ยี่เป็ง). Due to a difference between the old Lanna calendar and the Thai calendar, Yi Peng is held on a full moon of the 2nd month of the Lanna calendar ("Yi" meaning "2nd" and "Peng" meaning "month" in the Lanna language). A multitude of -style  (khom loi (โคมลอย),
literally: "floating lanterns") are launched into the air where they
resemble large flocks of giant fluorescent jellyfish gracefully floating
by through the sky. The festival is meant as a time for tham bun (: ทำบุญ), to make. People usually make khom loi
from a thin fabric, such as rice paper, to which a candle or fuel cell
is attached. When the fuel cell is lit, the resulting hot air which is
trapped inside the lantern creates enough lift for the khom loi to float up in to the sky. In addition, people will also decorate their houses, gardens and temples with khom fai (โคมไฟ): intricately shaped paper lanterns which take on different forms. Khom thue (โคมถือ) are lanterns which are carried around hanging from a stick, khom khwaen (โคมแขวน) are the hanging lanterns, and khom pariwat (โคมปริวรรต) which are placed at temples and which revolve due to the heat of the candle inside. The most elaborate Yi Peng celebrations can be seen in  the ancient capital of the former Lanna kingdom, where now both Loi Krathong and Yi Peng
are celebrated at the same time resulting in lights floating on the
waters, lights hanging from trees/buildings or standing on walls, and lights floating by in the sky. The tradition of Yi Peng was also adopted by certain



ประวัติวันลอยกระทงและการแนะนำสถานที่ ลอยกระทงออนไลน์ พอสังเขป

เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่(เดือนที่ 2)
ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา"มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน
ตามปฏิทินสุริยคติประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อ
พระแม่คงคา
บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที
และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง



              ผู้
คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน
ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง
แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล)
เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง
เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย





ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น



             ลอยกระทง ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ
"ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน
ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง"
หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา
ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)





จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"





จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง





ลอยกระทง ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"





ลอยกระทง กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง





ลอยกระทง ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน



นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา



แนะนำสถานที่ ลอยกระทงออนไลน์



ประวัติ

             
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย
ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก
โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป
และนางนพมาศได้นำดอกโคทม
ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป
แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3





ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย

             
ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ
ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"



ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง

# เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

# เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

# เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

# ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

แนะนำสถานที่ ลอยกระทงออนไลน์